ลักษณะการทำงานของ”ภาพ 3 มิติ” เป็นอย่างไร?? ที่นี่มีคำตอบ


เทคโนโลยี “ภาพ 3 มิติ” ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมานานแล้ว ในขณะเดียวกันมันก็มีเทคนิคที่ใช้หลอกสายตาให้เห็นภาพที่ฉายอยู่นั้นเกิดมีมิติตื้นลึกชัดเบลอขึ้นมามากมายจนน่าปวดหัว โดยแต่ละเทคนิคก็ยังจะใช้แว่นที่ไม่เหมือนกันอีกต่างหาก ลองดูคำอธิบายพร้อมภาพประกอบง่ายๆ ต่อไปนี้ คาดว่าน่าจะช่วยให้คุณเข้าไปใจการทำงานของพวกมันได้ง่ายขึ้นครับ

Anaglyph (แว่นตาน้ำเงิน/แดง) เทคนิคแรกนี้จะพบเห็นกันมาก และทีเป็นที่คุ้นเคยมากที่สุด ซึ่งหากจะอธิบายหลักการจากภาพที่เห็นข้างล่างนี้ก็คือ Anaglyph จะใช้กล้องฉายภาพ 2 ตัว ฉายภาพที่มีสีสัน (น้ำเงินกับแดง) และมุมมองที่แตกต่างกัน (เหมือนกับเวลาเราปิดตาแล้วมองทีละข้าง ภาพที่เห็นจะมีมุมทีแตกต่างกันเล็กน้อย) ส่วนแว่นตาทำหน้าทีกรองภาพแต่ละสีออกไป เช่น แว่นตาสีแดงจะกรองภาพสีแดงออกไปให้เห็นแต่ภาพสีน้ำเงิน ส่วนแว่นตาสีน้ำเงินก็จะกรองภาพส่วนที่เป็นสีแดงออกไป ทำให้ตาทั้งสองเห็นภาพที่แตกต่างกัน สมองจะตีความด้วยการรวมภาพที่มองเห็นแตกต่างกันสองภาพ อีกทั้งมีมุมแตกต่างกันกลายเป็นภาพทีมิติขึ้นมา (อีกคำอธิบายหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ภาพสีแดงจะตกหลังจอตา ส่วนภาพสีน้ำเงินจะตกกระทบก่อนถึงจอตา ความแตกต่างกันของการตกกระทบภาพทั้งสองภาพบนจอตา เมื่อมองเห็นพร้อมกันทำให้เกิดมีติดลึกตื้นที่ไม่เท่ากัน เลยเห็นเป็นภาพลอยออกมาได้นั่นเอง)

 

สำหรับ LG Optimus Pad ก็ได้ใช้เทคโนโลยีดูภาพ 3D ผ่านทางแว่นแบบ Anaglyph (แว่นตาน้ำเงิน/แดง)

 

เป็นยังไงบ้างครับสำหรับแบบแรกซึ่งเป็นแบบเก่าที่เราคุ้นเคยกันมานานต่อไปเรามาดูแบบที่สองกันบ้างนะครับ
นั้นก็คือ แว่น 3 มิติ ชนิด Polarized 3-D Glasses

Polarized 3-D Glasses หลักการจะคล้ายกับ Anaglyph โดยเฉพาะการฉายภาพจากล้องสองตัวด้วยภาพที่แตกต่างกัน แต่เทคนิคนี้ไม่ได้ใช้สีเป็นตัวแบ่งภาพที่ต่างกัน แต่จะใช้แนวการวางตัวของช่องการมองเห็นแต่ละภาพที่ฉายซ้อนกันอยู่ เช่น จากในภาพแว่นตาข้างซ้ายจะเห็นมองเป็นภาพที่ผ่านช่องในแนวตั้ง ส่วนตาขวาจะมองเห็นภาพที่ช่องในแนวนอน ซึ่งทั้งสองภาพมีมุมมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นมันก็จะเข้าหลักการเดิม นั่นก็คือ การทำให้ตาแต่ละข้างของเรามองเห็นภาพที่ไม่เหมือนกัน เมื่อสมองพยายามรวมภาพทั้งสองที่มีความแตกต่างของมุมมอง ภาพที่เห็นจึงเกิดเป็น 3 มิติขึ้นมา

 

โดยส่วนใหญ่เทคโนโลยีทีวี 3 มิติแบบทั่วไปหรือที่เรียกว่า Shutter Glass ด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดในหลายๆ ด้านดังนั้น “LG CINEMA 3D” พัฒนามาจากเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Film Patterned Retarder หรือเรียกสั้นๆ ว่า FPR ซึ่งเทคโนโลยี FPR นี้ให้ภาพ 3 มิติที่เป็นธรรมชาติมากกว่าและให้สีสันที่สว่างด้วยวิธีที่ทำให้ภาพ 3 มิติลอยออกมาได้มากที่สุด LG CINEMA 3D จึงเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปมากกว่าทีวี 3 มิติแบบทั่วไป เป็นอย่างมาก ถือเป็นทีวี 3 มิติแห่งอนาคตอย่างแท้จริง

 

สำหรับหน้าจออีกประเภทหนึ่งชนิด Parallax Barrier ซึ่งหน้าจอประเภทนี้ไม่ต้องสวมแว่นตา

 

Parallax Barrier เทคนิคนี้ผู้ชมไม่จำเป็นต้องใส่แว่นตา ซึ่งหากจำกันได้ ในงาน commart เมื่อปลายปี ได้มีการนำกล้อง Fujifilm ที่สามารถมองเห็นภาพถ่ายบน LCD ด้านหลังกล้องเป็น 3D ได้ โดยไม่ต้องใส่แว่นตา นี่ล่ะครับตัวอย่างของเทคนิค  Palarax ซึ่งหากจะอธิบายจากภาพที่เห็นก็คือ มันจะใช้วิธีแบ่งภาพที่มีมุมองต่างกันเป็นแท่งๆ วางตัวสลับกัน (เหมือนเส้นสแกนในทีวี แต่ทีวีจะใช้ภาพมุมมองเดียวกัน) โดยมี Parallax Barrier ที่เป็นชั้นกรองพิเศษสามารถแบ่งแต่ละส่วนของภาพให้ตาแต่ละข้างที่มองผ่านชั้นนี้มองเห็นภาพที่ไม่เหมือนกันได้พร้อมกัน เมื่อสมองพยายามรวมภาพที่มีมุมมองต่างกันให้เป็นภาพเดียว เราก็จะมองเห็นเป็นภาพสามมิตินั่นเอง (พูดง่ายๆ ก็คือ parallax Barrier ทำหน้าที่แทนแว่นตาที่กรองภาพทั้งสองให้ตาแต่ละข้างได้มองเห็นคนละภาพกันนั่นเอง เจ๋งจริงๆ เลยนะครับ)

ในหน้าจอของ LG Optimus 3D นั้นเป็นชนิด Parallax Barrier ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสวมแว่นตา
สามารถเพลิดเพลินกับ เกมส์ , วีดีโอ , ภาพถ่าย และ ภาพยนต์แบบ 3 มิติได้อย่างสบายทำให้คุณ
สัมผัสโลก 3 มิติแบบไร้ขีดจำกัดครั้งแรกกับมือถือสมาร์ทโฟนก่อนใคร

LG Optimus 3D (P920) สามารถรับชมคอนเทนต์ 3 มิติโดยไม่จำเป็นเป็นต้องสวมเว่น 3 มิติ มาพร้อมกล้อง
5 ล้านพิกเซล ซึ่งสามารถบันทึกภาพนิ่ง และวิดีโอในรูปแบบไฟล์ 3 มิติได้ทันที

 

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก ARIP

4 thoughts on “ลักษณะการทำงานของ”ภาพ 3 มิติ” เป็นอย่างไร?? ที่นี่มีคำตอบ

  1. Pingback: เปรียบเทียบ LG CINEMA 3D Monitor vs. 3D MonitorLG Blog

  2. Pingback: LG Plasma TV PZ950 นวัตกรรมล่าสุดจากแอลจี ยกระดับภาพสวยคมชัด สมจริง พร้อมระบบสามมิติที่เหนือชั้นLG Blog

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.