นอกจากออฟฟิศซินโดรมแล้ว เราอาจเคยได้ยินโทษของ “แสงสีฟ้า” จากหน้าจอกันมาพอสมควร พนักงานออฟฟิศอย่างเรามักใช้เวลาทั้งวันอยู่หน้าจอใช่ไหมครับ จะดีแค่ไหนถ้าเรารู้วิธีถนอมสายตาคู่น้อย คู่เดียวของเราให้อยู่กับเราได้นานยิ่งขึ้น ครั้งนี้ผมจะมาอธิบายว่าแสงสีฟ้าคืออะไร อันตรายต่อสายตาของเราอย่างไร และผมจะมาแนะนำฟังก์ชั่น Reader Mode ฟังก์ชั่นที่ช่วยถนอมสายตาให้รู้จักกันนะครับ
แสงสีฟ้า คือ แสงที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 7 สี คือ สีแดง ม่วง ส้ม เหลือง น้ำเงิน คราม และเขียว ซึ่งแสงสีน้ำเงินหรือที่เราเรียกกันว่า “แสงสีฟ้า” เป็นหนึ่งในแสงที่สามารถทะลุทะลวงได้ถึงจอประสาทตา เรียกว่ามีพลังทำลายกระจกตาหรือจอประสาทตาได้มากกว่าแสงสีอื่น และเป็นคลื่นแสงพลังงานสูง ที่มีความยาวคลื่น 400 – 500 นาโนเมตร โดยแสงสีฟ้าจะพบมากในมือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่เราใช้กันตลอดเวลา มากกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตาของคุณอย่างที่เราคาดไม่ถึง
การใช้มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดผลกระทบกับเราเช่น ปวดตา ตาแห้ง พร่ามัว น้ำตาไหลจากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า แสงสีฟ้า (Blue Light) จะทำให้เซลล์ตายได้ เนื่องจากแสงสีฟ้ามีพลังงานมากพอที่จะไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระภายในลูกตา แล้วสารอนุมูลอิสระจะทำให้เซลล์ จอประสาทตาตาย และเทคโนโลยีของยุคสมัยนี้ได้มีฟังก์ชั่น Reader Mode ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่เสริมเข้ามาเพื่อเป็นการช่วยถนอมสายตาของเรา และ Reader mode เป็นฟังก์ชั่นที่มาพร้อม หน้าจอคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องจ้องหน้าจอ หรือต้องอ่านข้อความบนหน้าจออยู่ตลอดเวลา โดยฟังก์ชั่นนี้จะช่วยปรับให้เกิดความสบายในการอ่าน ป้องกันแสงสีฟ้าที่จะเป็นอันตรายต่อดวงตาของคุณอีกด้วย
นอกจากนี้ผมยังมี Tips ในการรักษาดวงตาของคุณให้อยู่กับเราไปนานๆมาฝากครับ
เกี่ยวกับคุกกี้บนไซต์นี้
โดยการเข้าใช้เว็บไซต์นี้ ท่านยอมรับเงื่อนไขการใช้คุกกี้ของเรา เราใช้คุกกี้เพียงเพื่อปรับปรุงการใช้งานให้เหมาะสม วิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ และเพิ่มประสบการณ์การใช้งานของท่าน
ทั้งนี้ท่านสามารถปิดการตั้งค่าของคุกกี้ได้ เพื่อระงับการเก็บข้อมูลทุกอย่างของคุกกี้ในอนาคต อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ศูนย์การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ความเป็นส่วนตัวของคุณ
เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม ไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบ
ของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเกี่ยวกับคุณ การตั้งค่าของคุณ อุปกรณ์ของคุณ หรือเพื่อช่วยให้ไซต์ทำงานอย่างที่คุณต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของคุณได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น คุณสามารถปฏิเสธไม่ให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ คลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นของเรา อย่างไรก็ตาม คุณควรทราบว่าการบล็อกคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานไซต์และบริการที่เรามีให้ใช้งาน Cookie settings