รู้จักและป้องกันไข้ซิก้า และ ไข้เลือดออก

ปัจจุบันโลกของเราได้มีโรคใหม่ๆเกิดขึ้นมามากมาย โรคที่มากับยุงก็สำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้ซิก้าหรือเรียกว่า ไวรัสซิก้า และโรคไข้เลือดออก บางคนคงสงสัยว่าเอ๊ะ! โรคไข้ซิก้านั่นคืออะไร และ เกี่ยวอะไรกับยุงกันนะ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโรคไข้ซิก้าและโรคไข้เลือดออกกันก่อนนะครับ จะได้รู้จักกับโรคและหาวิธีป้องกันทุกคนในบ้านของคุณให้ลดความเสี่ยงที่จะเป็น2โรคนี้ครับ

1.ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา

เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก ที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศไนจีเรีย เชื้อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกครับ

 

ไวรัสซิกา ติดต่อได้อย่างไรกันนะ

ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามในตอนแรกยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน กระทั่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า “พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาด นั่นแสดงว่าโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์

ไวรัสซิกา อาการเป็นอย่างไรกันนะ

องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ติดเชื้อราว 1 ใน 4 ที่จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังได้รับเชื้อ ซึ่งจะปรากฏอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และปวดหัว แต่อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออกครับ แต่ถ้าหากปล่อยไว้ อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ระบบการทำงานของสมองผิดปกติได้ ทั้งนี้หากเป็นผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ซึ่งจะทำให้ทารกมีความผิดปกติที่ศีรษะ โดยจะมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ

2.รคไข้เลือดออก

เมื่อ ค.ศ. 1970 มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific

ประชากรประมาณ 2,500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500,000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1

 

ไข้เลือดออก ติดต่อได้อย่างไรกันนะ

ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจำนวนภายในตัวของยุงลาย ยุงลายจึงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และกล่าวได้ว่าโรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน ยุงลายที่เป็นพาหะนี้มีชื่อว่า Aedes aegypti ยุงชนิดนี้ออกหากินเวลากลางวัน ยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป ยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประเทศไทยจึงเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูง โดยพบการระบาดมากที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนน้อยที่สุด

ไข้เลือดออก อาการเป็นอย่างไรกันนะ

อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด กล่าวคือ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่แตกต่างกันที่ ไข้จะสูงกว่ามาก โดยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีหน้าแดง และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า หากทำการทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัด (Touniquet test) จะพบจุดเลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออกผิดปกติอื่นๆ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจพบอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง อาจถึงกับช็อกและเสียชีวิตได้ โดยอาการนำของภาวะช็อกมักเริ่มจากการมีไข้ลดลง ดังนั้นหากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงตามด้วยอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบแจ้งแพทย์หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

วิธีการป้องกันโรคไข้ซิก้าและโรคไข้เลือดออก

  1. สังเหตุ แทงค์น้ำ บ่อน้ำ และ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง จะต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่ครับ
  2. ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝนครับผม
  3. ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะก็ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วนถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำครับ
  4. หมั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็น หรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งบางรุ่นออกแบบมาไม่ค่อยดี โดยรูระบายน้ำจะอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร อาจทำให้มีน้ำขังซึ่งจะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงดีดีเลยทีเดียวครับ
  5. ตรวจสอบรอบๆบ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ตรงท่อระบายน้ำบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการให้เรียบร้อยครับ
  6. ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำได้ หากไม่ใช้งานให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้มีน้ำขังเกิดขึ้นครับ
  7. ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกันนะครับ
  8. สังเกตหากบ้านใครมีรัวไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรูครับ และในส่วนของต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำครับ

แต่คุณรู้หรือไม่ครับ ว่าเครื่องปรับอากาศหรือว่าแอร์เดี๋ยวนี้ก็สามารถช่วยไล่ยุงได้นะ ด้วยเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศที่สามารถส่งความถี่เพื่อไล่ยุงให้คนในบ้านได้ จาก LG  Mosquito Away สามารถทำงานไล่ยุงได้ถึง 75.5% เพียงแค่คุณกดปุ่ม “MOSQUITO AWAY” เทคโนโลยีของ “Mosquito Away” จะส่งคลื่นความถี่ระหว่าง 30,000 Hz – 100,000 Hz จากตัวส่งสัญญาณไล่ยุง ซึ่งจะส่งผลต่อประสาทสัมผัสทำให้ไร้ยุงรบกวน (คลื่นความถี่นี้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์) ไร้สารเคมีและไร้กลิ่นรบกวนด้วยครับผม ดังนั้นคุณไม่ต้องเป็นห่วงเลยว่าจะเป็นอันตรายแก่คนในบ้าน